ปฏิทินการศึกษา

วนอุทยานแห่งชาติฝอยลม...

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


ประวัติความเป็นมาของโครงการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูฝอยลม“Phu Foilom Ecotourism Project”
“ ภูฝอยลม ” เป็นพื้นที่โล่งบริเวณยอดเขาเทือกเขาภูพานน้อย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพันดอน – ปะโค ท้องที่ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดในทางทิศได้ประมาณ 40 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูงเรียงสลับซับซ้อนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี โดยเป็นจุดกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยหลวง ห้วยสามพาด ห้วยกองสี ห้วยขี้เหล็ก ห้วยวังกุ่ม และพื้นที่แห่งนี้มีป่าหลายชนิด เช่น ป่าดินแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็ง ซึ่งหลายส่วนยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่โดยมีพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่อย่างมากมาย เช่น ยางนา ตะเคียนหิน ประดู่ มะค่า โมง เต็งรัง ฯลฯ มีความชื้นสูง และหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะบริเวณยอดภูฝอยลม ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 600 เมตร จะมีความหนาวเย็นและความชื้นสูงมาก ในอดีตความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้มีไลเคนชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ ฝอยลม” มีลักษณะเป็นเส้นฝอยสีเขียวปนเทาจนได้รับการขนานนามว่า “ภูฝอยลม” ในอดีต ได้มีการให้สัมปทานป่าไม้ในพื้นที่ดังกล่าว และราษฎรจากพื้นที่ต่าง ๆ ได้เข้ามาบุกรุกยึดถือจับจองพื้นที่ป่าจำนวนหลายราย แล้วรวมตัวกนจัดตั้งเป็นหมู่บ้านประมาณ 4 – 5 หมู่บ้านโดยหนังในนั้น คือ “หมู่บ้านฝอยลม” (ตั้งชื่อตามสภาพพื้นที่) และได้สร้างความ เสียหายให้กับสภาพป่าเป็นอย่างมากในที่สุด นายสายสิทธิ์ พรแก้ว อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของป่าผืนนี้ จึงได้มีการรวมส่วนราชาการต่าง ๆ เข้า ทำการอพยพราษฎรที่บุกรุกพื้นที่ป่าให้ออกไปโดยจัดให้อยู่ในพื้นที่ อื่นที่ไม่กระทบต่อการทำลายป่า

ในปี พ.ศ. 2533 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี โดยฝ่ายป้องกันรักษาป่า (ปัจจุบัน คือ ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้) ได้เข้าทำการศึกษาและสำรวจสภาพป่าบริเวณดังกล่าว พบว่า ป่าบางส่วนยังอุดมสมบูรณ์อยู่ และมีบางส่วนที่เริ่มจะเสื่อมโทรมลง จึงได้หาวิธีที่จะฟื้นฟูสภาพป่าเหล่านี้ โดยแนวทางหนึ่งตามกลยุทธ์เชิงรุกในการป้องกันรักษาป่า โดยได้จัดทำ “โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” ขึ้นสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนที่ต้องเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกรักและหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้กับเยาวชนแล้ว ให้เยาวชนเหล่านี้กระจายความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปบอกต่อกับเพื่อนฝูงบุคคลรอบข้างหรือบุคคลในครอบครัวให้สนใจ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งในระยะแรกได้นำเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ พื้นที่ป่าและขยายผลต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งแต่ละปีได้มีคณะเยาวชนจากสถานศึกษาต่าง ๆ เข้ามาใช้พื้นที่บริเวณโครงการ สำหรับจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์อยู่เป็นจำนวนมาก สร้างกระแสด้านการอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี พ.ศ. 2535 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดราธานี ได้ปรับปรุงวิธีดำเนินกิจกรรมให้มีรูปแบบดียิ่งขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” ชื่อย่อ “ ย.พ.พ.” โดยจัดฝึกอบรมเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ ภายในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดหนองบัวลำภู และได้จัดตั้งสำนักงานชั่วคราวขึ้น ณ บริเวณภูฝอยลม ท้องที่ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี และในปีเดียวกันสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี ก็ได้จัดสร้างโครงการสวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษามหาราชินีขึ้นในบริเวณพื้นที่ติดกัน เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าที่อยู่ในภาคอีสานมาปลูกรวมกันไว้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ ตลอดจนเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทางเจริญพระชนพรรษา 60 พรรษา โดยทำการรวบรวมพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ และจัดแบ่งเป็นกลุ่มศึกษา ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชโภชนาการ กลุ่มพืชมีพิษ กลุ่มพืชสมุนไพร เป็นต้น



ในปี พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปองพล อดิเรกสาร) ได้มอบนโยบายด้านการป่าไม้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยให้กรมป่าไม้ จัดหาพื้นที่นอกเหนือจากเขตป่าอนุรักษ์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติแบบประหยัดโดยยึดหลักการที่ว่า “ การนันทนาและวิชาการควบคู่กับการบริหาร" สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานีจึงได้คัดเลือกและจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าพันดอน ปะโค อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีศักยภาพโดดเด่นสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย สภาพธรรมชาติที่สวยงาม บรรยากาศเงียบสงบ อากาศบริสุทธิ์แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สัมผัสได้ทั้งป่าไม้ สายหมอก ธารน้ำ สัตว์ป่า และในป่าผืนนี้ยังมีจุดที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ และยุทธศาสตร์อีกหลายแห่ง เช่น จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นจังหวัดอุดรธานีได้อย่างชัดเจนในเวลาที่ท้องฟ้าแจ่มใส สวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษมหาราชินี โครงการที่รวบรวมพันธุ์ไม้ป่าไว้หลาย ๆ ชนิดในท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวมกัน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และพักผ่อนหย่อนใจน้ำตกคอยนาง น้ำตกธารงาม สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักอย่างดีของ ชาวจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง วัดถ้ำสหาย ซึ่งในอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แต่ปัจจุบันถูกปรับปรุงใหม่ให้เป็นสภาพของวัดป่า ซึ่งมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก สนามเป้าแหล่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ของทางสหรัฐอเมริกา ในสมัยสงครามเวียดนาม นากจากนี้นักท่องเที่ยวยังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสภาพป่าที่ถูกบุกรุกทำลายให้กลับมาเป็นผืนป่าอีกครั้ง ในโครงการปลูกป่าสงวนแห่งชาติป่าพันดอน – ปะโค แปลงปลูกป่าสาธิต จำนวนหลายพันไร่และ ในพื้นที่โครงการฯ มีเส้นทาง “ จักรยานเสือภูเขา ” ฯลฯ ซึ่งสถานที่ทั้งหมดนี้อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน สามารถที่จะเดินทางไปถึงจุดต่างๆ ได้ทั้งทางเดินเท้าและทางรถยนต์ และที่ตั้งห่างจากตัวเมืองอุดรธานี ประมาณ 35-50 กิโลเมตร เดินทางได้สะดวกทุกฤดูกาล โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เท่านั้น โดยมีเส้นทางคมนาคมหลักได้ 5 เส้นทาง เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ สำหรับดำเนินการในเบื้องต้นเมื่อปี พ.ศ. 2541-2542



ในปีงบประมาณ 2545 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ( พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ) ได้มีนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และจำนวนมากยิ่งขึ้น จึงได้อนุมัติเงินงบประมาณจากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (งบกลาง สกศ./45) เพื่อดำเนินการให้ต่อเนื่องโดยใช้ชื่อว่า “โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าพันดอนปะโค (ภูฝอยลม) ” ซึ่งปัจจุบันมีประชาชน นักเรียน นักศึกษา เข้าไปเที่ยวชม ทัศนศึกษาเข้าค่ายด้านสิ่งแวดล้อม จัดประชุมสัมมนาเป็นจำนวนมากและผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี(นายชัยพร รัตนนาคะ) มีแผนการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค และของประเทศ และได้มีแผนงานในการจัดทำโครงการอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ และเส้นทางศึกษาไดโนเสาร์ ซึ่งมีอาคารพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ ด้านสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีการก่อสร้างหุ่นจำลองไดโนเสาร์หลายยุคและการปั้นหุ่นวิวัฒนาการมนุษย์ และการพัฒนาในครั้งนี้ก็ได้รับการสนับสนุนและจากผลักดันจากหลาย ๆฝ่าย เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต 4 (นายธีระยุทธ วานิชชัง) หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ชุมชนท้องถิ่น ภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน อนึ่ง โครงการได้ขออนุมัติกรมป่าไม้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงาน “โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าพันดอน - ปะโค ” เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูฝอยลม ” และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Phu Foilom Ecotourism Project” เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวโดยทั่วไปโดย ....นายสุรเชษฐ์ มหาเสนา นักวิชาการวัฒนธรรม 7ว


แผนที่ : ภูฝอยลม

ที่มา:สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด อุดรธานี โทร. ๐ ๔๒๒๔ ๗๘๐๒ โทรสาร ๐ ๔๒๒๑ ๒๕๓๘ ๗/๗ ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ๔๑๐๐๐ Copyright © 2008. All rights reserved.If you have comment please contact to webmaster Email : ink_ant@hotmail.com แสดงผลได้ดีที่ความละเอียด 1024 x 768 ด้วยโปรแกรม Internet Explorer ุ6.0 ขึ้นไป

โทษของอินเตอร์เน็ต...




1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต

-รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
-มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
-ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
-รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
-ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
-หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
-การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
-มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
-ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ


2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

-รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
-มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
-ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
-รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
-ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
-หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
-การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
-มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
-ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้





3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
-ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย

-หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือ โปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
-ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลาย ไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542





อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?


-รู้จักกับ TCP/IP
โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่งก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
-ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number)
-ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะใน เครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย
ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป
โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102) ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000 เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย
-Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ)
-Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)
-Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)
เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ 181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10 และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น

Domain Name System (DNS)
เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล TCP/IP คุยกัน โดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 203.78.105.4 แทนที่ด้วยชื่อ thaigoodview.com ผู้ใช้บริการสามารถ จดจำชื่อ thaigoodview.com ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP 203.78.105.4 เป็น 203.78.104.9 ผู้ดูแลระบบจะจัดการ แก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่อง เดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม
สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name-to-IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่างๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่างๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะ กำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย เช่นชื่อ Domain คือ support.skynet.com จะได้ว่า com จะเป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดตั้งต้น หรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ skynet และระดับล่างสุดคือ support หมายความว่า ชื่อ Domain นี้ แทนที่หน่วยงาน support ของบริษัทชื่อ skynet และเป็นบริษัทเอกชน ดังแสดงโครงสร้างลำดับชั้นของ Domian Name ที่ชื่อ Support.skynet.com
ในการกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถ อ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจ ดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่งๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อ และจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดใน ตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การ จัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูล ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วย ขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้ ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่งๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่นๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้น เกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน)

-การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain

ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ ชื่อ_user @ ชื่อ_subdomain. ชื่อ_Subdomain... [...] . ชื่อ_Domain ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใดๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า "แอท" หมายถึง "อยู่ที่เครื่อง..." แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่างๆ ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่มๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่งๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้นๆ เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้นๆ หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง...

ชไมพร กาฬพันธ์ Copyright © 2009 Designed by Ipietoon Blogger Template for Bie Blogger Template Vector by DaPino