ปฏิทินการศึกษา

แนะนำตัว

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Name:Chamailporn Karapun Birthday:Aogust 11,1988 Age:21 years old Tel:083-4585147 E-mail:pattozaa@hotmail.com
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์

แนะนำตัว

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานอดิเรกหรอ...ออน hi5 ความถนัด...เล่นดนตรีบางชนิด ความสามารถพิเศษ...วาดรูปพอดูได้ ชื่นชอบ...วงดนตรีหมอลำคร่ะ
สร้างกริตเตอร์
ฟังเพลง ดารา เกมส์

แนะนำตัว

เพื่อนเรียก...แพ็ทโต้ เกิดวันที่ 11 สิงหาคม 31 อายุ 21 ปี 6 เดือน อนาตค อยากเป็น...อัยการ
สร้างกริตเตอร์
ฟังเพลง ดารา เกมส์

แนะนำตัว

น.ส.ชไมพร กาฬพันธ์ เรียนกฎหมาย ชั้นปีที่ 3 รหัส 50011315153 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สร้างกริตเตอร์
ฟังเพลง ดารา เกมส์

แนะนำตัว

ภาพงานปีใหม่ 2010

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

MV เสื้อแดงโดนยิงที่พัทยา

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553


เสื้อแดงปะทะเสื้อน้ำเงิน


เสื้อแดงโดนยิงที่พัทยา โดยเกิดการปะทะกันกับเสื้อน้ำเงิน
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 ซึ่งผู้ชุมนุมนั้นต่างก็ได้รับอันตรายทั้งสองฝ่าย


วันครู 16 มกราคม

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู 16 มกราคม 2553

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นม
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

กิจกรรมในวันครู ปี 2553

นายนิพัฒน์ มณี ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 เผยว่า ในวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นวันครู สพท.นราธิวาส เขต 2 ได้จัดพิธีบูชาบูรพาจารย์ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณครู โดยมอบหมายให้แต่ละเครือข่ายร่วมกับสถานศึกษาจัดงานตามแต่ละอำเภอที่สังกัด .....

สำหรับพิธีบูชาบูรพาจารย์ เนื่องในวันครู ประจำปี 2553 ของสังกัด สพท.นราธิวาส เขต 2 นั้น ได้จัดขึ้นในแต่ละเครือข่าย จำนวน 5 แห่ง คือ เครือข่าย รร.ในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก จัดขึ้นที่หอประชุม รร.สุไหงโก-ลก โดยมีนายอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นประธานในพิธี และ ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 เป็นผู้กล่าวรายงานและอ่านสารวันครู และนายเสถียร์ พละสิทธิ์ รอง ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 ร่วมในพิธี / เครือข่าย รร.ในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี จัดขึ้นที่หอประชุม รร.มัธยมสุไหงปาดี โดยมีนางศิริรัตน์ นราวงศานนท์ และนายพงศ์พันธ์ ลีนิน รอง ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 เป็นประธานในพิธี / เครือข่าย รร.ในพื้นที่ อ.ตากใบ จัดขึ้นที่หอประชุม รร.ตากใบ โดยมีนายอำเภอตากใบ เป็นประธานในพิธี และมีนายสุธีร์ ศรีสวัสดิ์ , นายภิรมย์ จีนธาดา รอง ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 เข้าร่วมพิธี / เครือข่าย รร.ในพื้นที่ อ.แว้ง จัดขึ้นที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอแว้ง โดยมีนายอำเภอแว้ง เป็นประธานในพิธี และนายอุทัย อินทนิล , นายมนูญ บุญชูวงศ์ รอง ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 เข้าร่วมพิธี / เครือข่าย รร.ในพื้นที่ อ.สุคิรินวิทยา จัดขึ้นที่หอประชุม รร.สุคิรินวิทยา โดยมีนายอำเภอสุคิริน เป็นประธานในพิธี และนายนุกูล ชูนุ้ย รอง ผอ.สพท.นราธิวาส เขต 2 ร่วมพิธี โดยในแต่ละเครือข่ายได้มีกิจกรรมพิธีระลึกถึงพระคุณครูและบูรพาจารย์ , กิจกรรมการมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติครู , กิจกรรมการมอบเกียรติแก่ รร.และนักเรียนที่ชนะการประกวดในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคใต้ที่ จ.นครศรีธรรมราช , กิจกรรมการมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรของครู โดยเป็นทุนของ สนง.สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนราธิวาส ฯลฯ อีกทั้งยังมีการพบปะพูดคุยกับครูอาวุโสนอกประจำการที่ได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ซึ่งในแต่ละเครือข่ายมีครูมารวมงานกันเป็นจำนวนมาก

ภาพกิจกรรมในงาน


แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 02-2885511-6 ไม่สงวนลิขสิทธิ์


ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553



ศิลปวัฒนธรรมอีสาน


"อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า
อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ...."


บทความข้างต้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า "ผญา" เป็นบทกลอนของคนอีสานสำหรับความหมายของคำผญาข้างต้นมีใจความรณรงค์ให้คนไทยร่วมกันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปเผื่อว่าวัฒนธรรมเหล่านี้จะสามารถนำความเจริญมาสู่ประเทศของเราก็ได้



การแต่งกายของชาวภาคอีสาน


การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน ประเพณี ที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มอีสานใต้ คือ กลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว









การแสดงพื้นเมืองอีสาน

การแสดงพื้นเมืองอีสาน ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน หรือที่เรียก กันว่า นักแอ่วเต็มตัว ว่าง
จากงานแล้วมักหยิบแคนมาเป่า คนร้องได้ก็ร้องคลอ สลับดนตรี เช่น หมอลำ รำสาก ฟ้อนผู้ไทย และรำ
โทน มีท่ารำที่ยืนพื้นคือ แอ่นตัว โยกไปโยกมา ใช้แขนทั้งลำแขนวาดผ่านหน้าไปมา มือก็ไม่จีบเช่นละคร
เวลาก้าวไปตาม จังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ไปด้วย ไม่มีลีลาเนิบนาบ อ่อน
ซ้อย เช่นฟ้อนทางเหนือ การแสดงพื้นบ้านอีสานจะเน้นความสนุกสนาน ทั้งแปลกตาและเน้นบุญประเพณี
ของท้องถิ่น เช่น บุญบั้งไฟ รำเซิ้ง

ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ
1.เพลงพิธีกรรม
-กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ
-กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
2.เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
-กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า
-กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช
ปัจจุบันมีการแสดงชุดใหม่ที่สถาบันต่างๆของภาคอีสานแต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นใหม่ ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฎอยู่ของภาคอีสานออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
1. การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงต๊อง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ
2. การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี
3. การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย
4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆภูไท 3 เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช
5. การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ
6. การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม๊วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก และเซิ้งเซียงข้อง ฯลฯ
7. การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ) เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ
8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ










ชนเผ่าพื้นเมืองอีสาน




1.ชาวผู้ไท (ภูไท) ผู้พิศมัย ความสุนทรีแห่งการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือนโดยเฉพาะการจัดการบายศรีสู่ขวัญ เลี้ยงอาหาร ขี่ช้างคู่ (ดูดอุคู่ชายหญิง) หรือเหล้าหมักแบบท้องถิ่นดื่มกัน ทั้งไหโดยใช้หลอดไม้ซางดูดน้ำเหล้าจากไห มีพิธีกรรมในรอบปีตามฮีตสิบสิง มีนาฏศิลป์การฟ้อนภูไทที่ร่ายรำลีลาที่อ่อนช้อยประกอบวงแคน ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เรณูนคร มีบางส่วนที่อยู่ที่อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอปลาปาก
2. ไทยญ้อ เป็นกลุ่มไทย-ลาว อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมาจากเมืองหงสา แขวงไชยบุรีประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากน้ำสงคราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ ส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง และบ้านขว้างคี ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ ซึ่งได้ชื่อว่า "หมู่บ้านคอมโดมีเนียมผี"
3. ไทยแสก มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองแสก เขตเมืองคำเกิด ติดชายแดนญวน ๒๐ กิโลเมตร อพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ตอนที่ประเทศไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ สมัยราชการที่ ๓ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม และบางส่วนอยู่ที่อำเภอนาหว้า มีประเพณีที่สำคัญคือ การเล่นแสกเต้นสาก
4. ไทยกะเลิง มีภาษาพูดของเผ่าเช่นเดียวกับโส้ อพยพมาจากแขวงสุวรรณเขต เขตคำม่วน ไทยกะเลิง ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอนาแก และที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน โดยมีศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิง ที่โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก ในวันเปิดศูนย์ฯ "นายนาวิน ขันธหิริญ" ได้เป็นประธานเปิดงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีบางส่วนได้ตั้งบ้านเรือยอยู่ที่ อำเภอโพนสวรรค์ อาศัยปะปนกับพวกข่าและโส้ และที่ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม ก็มีจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นั่นศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิงแห่งนี้ ตั้งขึ้นตามนโยบายฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายนาวิน ขันธหิรัญ ดังนั้น อำเภอนาแกโดยการนำของนายยงยุทธ นุกิจรังสรรค์ นายอำเภอนาแก จึงได้ร่วมประสานกับ อบต. โรงเรียน จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น โดยนำเอาเอกลักษณ์แท้ ๆ ของไทยกะเลิง ส่งเสริมและพัฒนาให้มีสีสันและงดงามอลังการ ศูนย์วัฒนธรรม "ไทยกะเลิง" แห่งนี้ได้ปลุกเร้าให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของผลผลิตอันเกิดจากกระบวนความคิดของบรรพบุรุษที่แยบยลและลึกซึ้งของดีอย่างนี้ "คนรุ่นใหม่" ควรที่จะศึกษาและอนุรักษ์ไว้ มิให้เสื่อมสลายตามกาลเวลาไปจากแผ่นดินไทยของเรา
5. ไทยโส้ ถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย ก่องแก้ว และแขวงเมืองคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสาน สมัยรัชกาลที่ ๓ หลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เป็นเผ่าที่มีความเชื่อ และความศรัทธาในบรรพบุรุษ มีพิธีกรรมที่สำคัญคือ พิธีโส้ทั่งบั้ง อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านพะทาย หนองเทา และบางส่วนที่อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์
6. ไทยข่า เป็นชาวพื้นเมืองเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยปะปนอยู่กับไทยกะเลิง ไทยโซ่ (โส้) และไทยลาว ซึ่งปัจจุบันนี้ถูกกลืนเกือบกะหมดแล้ว เดิมไทยข่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวันและแขวงอัตปือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพมายังประเทศไทยในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวไทยข่าที่พอจะมีหลักฐานบ้างอาศัยปะปนกับไทยโซ่ (โส้) ในจังหวัดนครพนม เช่น หมู่บ้านคำเตย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
7. ไทยลาว (ไทยอีสาน) เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสานป เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป


ภาษาอีสาน

ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
1.ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในท้องที่ เวียงจันทน์ บอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่ จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน)
2.ภาษาลาวเหนือ ใช้กันในท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
3.ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้กันในท้องที่เมืองเซียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
4.ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
5.ภาษาลาวใต้ ใช้กันในท้องที่แขวงจำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
6.ภาษาลาวตะวันตก ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียงมลฑลร้อยเอ็ด ของประเทศสยาม
ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา หรือเขียนด้วยอักษรไทยน้อยสำหรับเรื่องราวทางโลก ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ


อาหารอีสาน

อาหารภาคอีสานมีความหลากหลายมาก และเป็นอาหารที่คนเกือบทั้งประเทศคุ้นเคยรู้จักอาหารภาคอีสานจะมีรสชาติที่ออกไปทางเผ็ดจัดจ้าน และรสเค็มจากปลาร้า อาหารหลายจานของภาคอีสาน เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอาทิเช่น ส้มตำ ลาบ น้ำตก ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ และยังเน้นการกินผักที่หาได้ตามบ้านหรือทุ่งนา และยังมีกลิ่นหอม เช่น ผักแขยง หน่อไม้ ใบย่านาง คนภาคอีสานมีความคิดที่ชาญฉลาดที่นำผักตามทุ่งไร่ทุ่งนามาประกอบอาหารรัับประทานกัน เช่นแกงหน่อไม้ที่นำน้ำใบย่านางมาปรุงเป็นอาหาร

- ข้าวเหนียว ช่วยบำรุงผิวพรรณสร้างสารอาหารให้ร่างกายเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพราะ ข้าวเหนียว เป็นธัญพืชที่รองลงมาจากข้าวที่คนเรานิยมรับประทานกัน เพราะให้ความเหนียว ความมัน มีรสชาติที่น่ารับประทาน ความเชื่อของคนโบราณเชื่อว่า ข้าวเหนียวเป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้ ซึ่งมีทั้งข้าวใหม่และข้าว ข้าวใหม่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ร้อน นิยมปลูกในนาลุ่มที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์หรืออาจจะปลูกในที่ดอนก็ได้ที่ี่เรียกว่าข้าวไร่ทางภาคเหนือ



ผักพื้นเมือง


- ผักแพว ต้นและใบมีกลิ่นหอมใบอ่อนนำมารับประทานกับลาบและก้อยต่างๆ
-ผักก้านจอง ภาคกลางเรียกบอนจีนหรือตาลปัตรฤาษีนิยมใช้ช่อและยอดอ่อนมารับประทานกับลาบ ส้มตำ และอาหารรสจัดต่างๆ
-หน่อกระชาย นิยมใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกต่างๆ อีกทั้งช่วยเพิ่มกลิ่นของน้ำพริกให้หอมยิ่งขึ้นอีกด้วย
- หน่อไม้รวก เป็นหน่อไม้ที่ขึ้นในป่า เวลารับประทานต้องนำมาเผาหรือลวกให้สุกก่อน
-ใบย่านาง นิยมนำมาคั้นน้ำแล้วใช้เป็นส่วนผสมของแกงหน่อไม้ใบย่านาง หรือต้มกับหน่อไม้รวกเพื่อทำซุบหน่อไม้













วิถีชีวิตคนอีสาน

การสร้างบ้านของชุมชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยโบราณมักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มที่มีแม่สำคัญ ๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักข้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน หนอง" เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นมักจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ส่วนที่ตั้งบ้านเรือนตามทางยาวของลำน้ำนั้นมีน้อย ผิดกับทางภาคกลางที่มักตั้งบ้านเรือนตามทางยาว ทั้งนี้เพราะมีแม่น้ำลำคลองมากกว่า
หนุ่มสาวชาวอีสานเมื่อแต่งงานกันแล้ว ตามปกติฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย ต่อเมื่อมีลูกจึงขยับขยายไปอยู่ที่ใหม่เรียกว่า "ออกเฮือน" แล้วหักล้างถางพงหาที่ทำนา ดังนั้น ที่นาของคนชั้นลูกชั้นหลานจึงมักไกลออกจากหมู่บ้านไปทุกที และเมื่อบริเวณเหมาะสมจะทำนาหมดไป เพราะพื้นที่ราบที่มีแหล่งน้ำจำกัด คนอีสานชั้นลูกหลานก็มักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่อีก หรือถ้าที่ราบในการทำนาบริเวณใดกว้างไกลไปมาลำบาก ก็จะชักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่ใกล้เคียงกับนาของตน ทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นหมู่บ้านขึ้น
ลักษรณะการตั้งถิ่นฐาน
ในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของคนอีสานมักเลือกทำเลที่เอื้อต่อการยังชีพ ซึ่งมีองค์ประกอบทั่วไปดังนี้
1. แหล่งน้ำ นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก อาจเป็นหนองน้ำใหญ่หรือห้วย หรือ ลำน้ำที่แยกสาขามาจากแม่น้ำใหญ่ ที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มสามารถทำนาเลี้ยงสัตว์ ได้ในบางฤดูเท่านั้น
ชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "เลิง วัง ห้วย กุด หนอง และท่า" เช่น เลิงนกทา วังสามหม้อ ห้วยยาง กุดนาคำ หนองบัวแดง ฯลฯ
2. บริเวณที่ดอนเป็นโคกหรือที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สามารถทำไร่และมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีทั้งที่ดอนริมแม่น้ำและที่ดอนตามป่าริมเขา แต่มีน้ำซับไหลมาบรรจบเป็นหนองน้ำชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วนคำว่า "โคก ดอน โพน และโนน" เช่น โคกสมบูรณ์ ดอนสวรรค์ โพนยางคำ ฯลฯ
3. บริเวณป่าดง เป็นทำเลที่ใช้ปลูกพืชไร่และสามารถหาของป่าได้สะดวก มีลำธารไหลผ่าน เมื่ออพยพมาอยู่กันมากเข้าก็กลายเป็นหมู่บ้านและมักเรียกชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วยคำว่า "ดง ป่า และเหล่า" เช่น โคกศาลา ป่าต้นเปือย เหล่าอุดม ฯลฯ
4. บริเวณที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่เหมาะในการทำนาข้าว และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง ตัวหมู่บ้านจะตั้งอยู่บริเวณขอบหรือแนวของที่ราบติดกับชายป่า แต่น้ำท่วมไม่ถึงในหน้าฝน บางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" เป็นต้น
5. บริเวณป่าละเมาะ มักเป็นที่สาธารณะสามารถใช้เลี้ยงสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารได้ ตลอดจนมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่นำมาเป็นอาหารยังชีพ รวมทั้งสมุนไพรใช้รักษาโรค และเป็นสถานที่ยกเว้นไว้เป็นดอนปู่ตาตามคติความเชื่อของวัฒนธรรมกลุ่มไต-ลาว


ความเชื่อในการตั้งหมู่บ้าน
การเลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งหมู่บ้านในภาคอีสานจะเห็นได้ว่ามีหลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ ต้องเลือกทำเลที่ประกอบด้วย
1. น้ำ เพื่อการยังชีพและประกอบการเกษตรกรรม
2. นา เพื่อการปลูกข้าว (ข้าวเหนียว) เป็นอาหารหลัก
3. โนน เพื่อการสร้างบ้านแปงเมือง ที่น้ำท่วมไม่ถึง
ส่วนคติความเชื่อของชาวอีสานในการดำเนินชีวิต ชาวอีสานมี ความเชื่อที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษกล่าวคือ ความเชื่อในอำนาจลี้ลับที่เหนือธรรมชาติ และเชื่อในการครองเรือน การทำมาหาเลี้ยงชีพ สิ่งใดที่โบราณห้ามว่าเป็นโทษ และเป็นความเดือดร้อนมาให้ก็จะละเว้นและไม่ยอมทำสิ่งนั้น
สำหรับความเชื่อในการตั้งหมู่บ้านก็ไม่ต่างกันนัก ชาวอีสานมีการนับถือ"ผีบ้าน" และแถนหรือ "ผีฟ้า"มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อให้ช่วยปกป้องรักษาลูกหลาน มีการตั้ง "ศาลเจ้าปู่" ไว้ที่ดอนปู่ตา ซึ่งมีชัยภูมิเป็นโคก น้ำท่วมไม่ถึง มีต้นไม้ใหญ่หนาทึบ มีการก่อสร้าง "ตูบ" เป็นที่สถิตของเจ้าปู่ทั้งหลาย ตลอดจนการตั้ง "บือบ้าน"(หลักบ้าน)เพื่อเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน และมีการเซ่น "ผีอาฮัก" คือเทพารักษ์ให้ดูแลคุ้มครองผู้คนในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป
พิธีเลี้ยง "ผีปู่ตา" จะกระทำในเดือน 7 คำว่า "ปู่ตา" หมายถึงญาติฝ่ายพ่อ(ปู่-ย่า)และญาติฝ่ายแม่(ตา-ยาย)ซึ่งทั้งสี่คนนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นที่เคารพของลูกหลาน ครั้นเมื่อตายไปจึงปลูกหอหรือที่ชาวอีสานเรียก"ตูบ" มักใช้เสา 4 ต้น หลังคาจั่วพื้นสูง โดยเลือกเอาสถานที่เป็นดงใกล้บ้านมีต้นไม้ใหญ่และสัตว์ป่านานาชนิดเรียกว่า"ดงปู่ตา" ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธ์ ใครไปรุกล้ำตัดต้นไม้หรือล่าสัตว์ไม่ได้ หรือแม้แต่แสดงวาจาหยาบคายก็ไม่ได้ ปู่ตาจะลงโทษกระทำให้เจ็บหัวปวดท้องและเมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วย มีคนล้มตายผิดปกติเกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวอีสานถือกันว่า"หลักเหงี่ยงหงวย" ต้องทำพิธีตอกหลักบ้านใหม่ให้เที่ยงตรง มีการสวดมนต์เลี้ยงพระสงฆ์ เซ่นสรวงเทพยาดาอารักษ์ แล้วหาหลักไม้แก่นมาปักใหม่ ซึ่งต้องมีคาถาหรือยันต์ใส่พร้อมกับสวดญัตติเสาก่อนเอาลงดินในบริเวณกลางบ้าน ทั้งนี้เพราะชาวอีสานมีความเชื่อในการตั้ง "หลักบ้าน" เพราะหลักบ้านเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผังชุมชนระดับหมู่บ้าน และเปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน เมื่อชุมชนเติบโตขึ้น "หลักบ้าน" ก็พัฒนาไปสู่"หลักเมือง" ดังที่ปรากฎอยู่ทั่วไปในประเทศไทย
หลักบ้านมักสร้างด้วยไม้มงคล เช่น ไม้คูน ไม้ยอ มีทั้งหลักประธานหลักเดี่ยวและมีพร้อมหลักบริวารรายล้อม ส่วนรูปแบบของหลักบ้านนั้น มักควั่นหัวไม้เป็นเสาทรงบัวตูมหยาบ ๆ บางแห่งก็ถากให้เป็นปลายแหลมแล้วทำหยัก"เอวขัน"ไว้ส่วนล่าง



อาชีพของคนอีสาน

อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย ภาคนี้พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อย เป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน
เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี หนองบัวลำพู มุกดาหาร ภาคอีสานเป็นดินแดนที่แยกจากที่ราบภาค กลาง โดยมีภูเขาที่ยกขึ้นมาประดุจขอบของที่ราบสูงหันด้านชันไปทางภาคกลาง ด้านใต้มีด้านชันทางที่ราบต่ำเขมร ที่ราบสูง อีสานจะลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้แม่น้ำสายสำคัญๆ ของภาคนี้ไหลจากตะวันตกไปยังตะวันออกไปรวมกับแม่น้ำโขง นอกจากประชากรในภาคอีสานจะมีความหลากหลายของลักษณะทางชาติพันธุ์แล้ว ยังมีวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเหนือ แม้ว่าคนอีสานจะบริโภคข้าวเหนียวเหมือนกับคนภาค เหนือก็ตาม แต่เครื่องจักสานที่เกี่ยวเนื่องด้วยการบริโภคข้าวเหนียวของภาคอีสานมีลักษณะเฉพาะตนที่ต่างไปจากของภาคเหนือ ถึงแม้จะใช้ประโยชน์ในการใส่ข้าวเหนียวเช่นเดียวกันก็ตาม เครื่องจักสานภาคอีสานที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวที่สำคัญ คือ ก่องข้าว และกระติบ
คนในภาคอีสานมีวัฒนธรรมในการบริโภคข้าวเหนียวเช่นเดียวกับคนในภาคเหนือ แต่เครื่องจักสานของชาวอีสานจะมีลักษณ์เฉพาะ เช่น

- กระติ๊บข้าว เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ทรงกระบอกสูงคล้านกระป๋อง ตัวและฝามี ขนาดเกือบเท่ากัน มีเชือกห้อยสำหรับสะพาย
- ก่องข้าว ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ มีขาหรือฐานไม้เป็นรูปกากบาทไขว้ ตัวก่องข้าวสานด้วยไม้ไผ่ซ้อนกัน 2 ชั้น คล้ายรูปดอกบัวแต่มีขอบสูงขึ้นไปเหมือนโถ โดยมีส่วนฝาเหมือนฝาชีครอบอีกชั้นหนึ่งสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง
- กระออม ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตักน้ำหรือหิ้ว หรือหาบคอน






ที่มา : www.google.com

picasawep

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสวัสดีปีใหม่ 2553



ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา


ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย


ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย





แอ่วเหนือ!เที่ยวงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010


สิ้นปีนี้ชวนเพื่อน ๆ ไปแอ่วเหนือสัมผัสอากาศเย็นและร่วม Countdown ส่งท้ายปี ในงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ งานที่ทุกคนไม่ควรพลาดจังหวัดเชียงใหม่ขอเชิญนักท่องเที่ยวมาสัมผัสอากาศหนาว และร่วมนับถอยหลังต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ 2553 พร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553 ณ ถนนท่าแพตลอดสายและบริเวณข่วงประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอีสาน

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553




ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอีสาน
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย รวมทั้งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของเวียดนามเข้ามาด้วย ถึงแม้ปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้จะได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน (เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น)โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นในปัจจุบันได้รับการศึกษาที่ดีเหมือนกับชาวไทยทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคนไทยอีสานหรือคนเวียดนามกันแน่ ส่วนใหญ่ก็จะเห่อวัฒนธรรมตะวันตก(เหมือนเด็กวัยรุ่นของไทย)จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของตัวเอง แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุยังคงยึดมั่นกับวัฒนธรรมของตนเองอยู่อย่างมั่นคง ท่านสามรถศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเวียดนามได้ตามชุมชนชาวเวียดนามในจังหวัดที่กล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี

ศิลปะอีสาน
ศิลปะของชาวอีสานมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่ค้นพบไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำผ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ (ซึ่งบางแห่งเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในโลก) ล้วนแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานรู้จักใช้งานศิลปะพวกภาพและสัญลักษณ์ต่างๆเป็นตัวสื่อความหมายมาเป็นเวลานาน และยังรู้จักเลือกใช้สีและวัสดุที่มีความคงทนสามารถทนต่อสภาพดินฝ้าอากาศและการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีตราบถึงปัจจุบัน ที่ยังคงบอกเรื่องราวการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษของชาวอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามศึกษาว่าคนยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ใช้สีที่ทำมาจากอะไรจึงสามารถคงทนได้นานเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยนี้ได้ เชื่อว่าในอนาคตไม่ช้านี้คงจะสามารถค้นพบความจริงที่เก็บซ่อนมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะหันกลับไปใช้กรมวิธีเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราเคยใช้ หลังจากที่เราใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานาน นอกจากนี้การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็นับเป็นหนึ่งในศิลปะที่ชาวอีสานภาคภูมิใจ บ้านเรือนของชาวอีสานสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดรุ่นบรรพบุรุษ เริ่มจากเถียงนาน้อย ค่อยๆกลายมาเป็นบ้านไม้ที่มีความคงทนถาวร จนในปัจจุบันเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีบ้านเรือนเป็นจำนวนมากที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานโบราณไว้เป็นอย่างดี สถานที่ที่เราจะสามารถชมศิลปะแบบอีสานได้ดีที่สุดคือตามศาสนสถานวัดวาอารามต่าง ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้คนในชุมชนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล วัดวาอารามต่างๆล้วนได้รับการดูแลรักษาจากพระสงฆ์และคนในชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้เป็นแหล่งสืบสานศิลปะอีสานที่มีมาแต่โบราณจนตราบถึงปัจจุบันยุคที่ผู้คนชาวอีสานเริ่มลืมศิลปะที่ดีงามของตัวเองไปแล้ว

ประเพณีอีสาน
ประเพณีของชาวอีสานมีความหลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่จะเกิดจากความเชื่อ ค่านิยม และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น และอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนในท้องถิ่น ประเพณีต่างๆถูกจัดขึ้นเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพและเพื่อถ่ายทอดแนวความคิด ค่านิยมที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร เกิดจากการที่คนในท้องถิ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เชื่อว่าการจุดบั้งไฟจะทำให้ผญาแถนดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม เพราะจังหวัดนี้ติดแม่น้ำโขงและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงมาตลอด จึงอยากขอบคุณพระแม่คงคาประจำลำน้ำโขงที่ได้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่สังคมริมฝั่งโขง ดังนั้นจึงจัดประเพณี

การแต่งกายประจำภาคอีสาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน” ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย) การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ
ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้าย
ย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว


การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มอีสานเหนือ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า “เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน

ที่มา :http://statics.atcloud.com/files/comments/85/852969/images/1_display.jpg

2. การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาสการแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ


ที่มา : http://learners.in.th/file/gingzz/Untitled-6.jpg

ลักษณะการแสดง ซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง



ชนเผ่าพื้นเมืองอีสาน

1.ชาวผู้ไท (ภูไท) ผู้พิศมัย ความสุนทรีแห่งการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือนโดยเฉพาะการจัดการบายศรีสู่ขวัญ เลี้ยงอาหาร ขี่ช้างคู่ (ดูดอุคู่ชายหญิง) หรือเหล้าหมักแบบท้องถิ่นดื่มกัน ทั้งไหโดยใช้หลอดไม้ซางดูดน้ำเหล้าจากไห มีพิธีกรรมในรอบปีตามฮีตสิบสิง มีนาฏศิลป์การฟ้อนภูไทที่ร่ายรำลีลาที่อ่อนช้อยประกอบวงแคน ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เรณูนคร มีบางส่วนที่อยู่ที่อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอปลาปาก

2.ไทยญ้อ เป็นกลุ่มไทย-ลาว อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมาจากเมืองหงสา แขวงไชยบุรีประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากน้ำสงคราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ ส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง และบ้านขว้างคี ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ ซึ่งได้ชื่อว่า "หมู่บ้านคอมโดมีเนียมผี"

3. ไทยแสก มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองแสก เขตเมืองคำเกิด ติดชายแดนญวน ๒๐ กิโลเมตร อพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ตอนที่ประเทศไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ สมัยราชการที่ ๓ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม และบางส่วนอยู่ที่อำเภอนาหว้า มีประเพณีที่สำคัญคือ การเล่นแสกเต้นสาก

4. ไทยกะเลิง มีภาษาพูดของเผ่าเช่นเดียวกับโส้ อพยพมาจากแขวงสุวรรณเขต เขตคำม่วน ไทยกะเลิง ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอนาแก และที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน โดยมีศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิง ที่โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก ในวันเปิดศูนย์ฯ "นายนาวิน ขันธหิริญ" ได้เป็นประธานเปิดงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีบางส่วนได้ตั้งบ้านเรือยอยู่ที่ อำเภอโพนสวรรค์ อาศัยปะปนกับพวกข่าและโส้ และที่ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม ก็มีจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นั่นศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิงแห่งนี้ ตั้งขึ้นตามนโยบายฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายนาวิน ขันธหิรัญ ดังนั้น อำเภอนาแกโดยการนำของนายยงยุทธ นุกิจรังสรรค์ นายอำเภอนาแก จึงได้ร่วมประสานกับ อบต. โรงเรียน จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น โดยนำเอาเอกลักษณ์แท้ ๆ ของไทยกะเลิง ส่งเสริมและพัฒนาให้มีสีสันและงดงามอลังการ ศูนย์วัฒนธรรม "ไทยกะเลิง" แห่งนี้ได้ปลุกเร้าให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของผลผลิตอันเกิดจากกระบวนความคิดของบรรพบุรุษที่แยบยลและลึกซึ้งของดีอย่างนี้ "คนรุ่นใหม่" ควรที่จะศึกษาและอนุรักษ์ไว้ มิให้เสื่อมสลายตามกาลเวลาไปจากแผ่นดินไทยของเรา

5.ไทยโส้ ถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย ก่องแก้ว และแขวงเมืองคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสาน สมัยรัชกาลที่ ๓ หลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เป็นเผ่าที่มีความเชื่อ และความศรัทธาในบรรพบุรุษ มีพิธีกรรมที่สำคัญคือ พิธีโส้ทั่งบั้ง อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านพะทาย หนองเทา และบางส่วนที่อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์

6. ไทยข่า เป็นชาวพื้นเมืองเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยปะปนอยู่กับไทยกะเลิง ไทยโซ่ (โส้) และไทยลาว ซึ่งปัจจุบันนี้ถูกกลืนเกือบกะหมดแล้ว เดิมไทยข่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวันและแขวงอัตปือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพมายังประเทศไทยในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวไทยข่าที่พอจะมีหลักฐานบ้างอาศัยปะปนกับไทยโซ่ (โส้) ในจังหวัดนครพนม เช่น หมู่บ้านคำเตย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

7. ไทยลาว (ไทยอีสาน) เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสานป เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป



ภาษาไทยถิ่นอีสาน

เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
1.ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในท้องที่ เวียงจันทน์ บอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่ จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน)
2.ภาษาลาวเหนือ ใช้กันในท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
3.ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้กันในท้องที่เมืองเซียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
4.ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
5.ภาษาลาวใต้ ใช้กันในท้องที่แขวงจำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
6.ภาษาลาวตะวันตก ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียงมลฑลร้อยเอ็ด ของประเทศสยาม
ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา หรือเขียนด้วยอักษรไทยน้อยสำหรับเรื่องราวทางโลก ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ

ประเภทของอาหารอีสาน
อาหารอีสานนอกจากมีข้าวและปลาแล้ว ยังมีอาหารประเภทซี้น (เนื้อ) สัตว์ ผัก ผลไม้ต่างๆ อีกมากมาย ธรรมเนียมการประกอบอาหารของคนอีสานนั้นมีความพิถีพิถันประณีต บรรจงมาก

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้


1.อาหารคาว คือ ของกินพร้อมกับข้าว เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางอาหารกับข้าว ของชาวอีสานได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ กับข้าวของคนอีสานมีหลายประเภท ได้แก่
ลาบ ก้อย ส่า แซ หรือ แซ่ ซุบ แกง อ่อม อ๋อ คั่ว อู๋ หมก นึ่ง หลาม ปิ้ง ย่าง ดอง หมัก ตากแห้ง กวน
ชูรสอาหาร ได้แก่ ป่นปลา (น้ำพริกปลา) แจ่ว (น้ำพริกต่างๆ) ส้มตำประเภทต่างๆ
2.อาหารหวาน ขนมและอาหารว่าง มีมากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีเครื่อง ประกอบ 5 อย่าง แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว มะพร้าว น้ำอ้อย – น้ำตาล ไข่ ถั่ว งา ซึ่งพอจำแนกได้ ดังนี้คือ
-ประเภทต้ม ได้แก่ ต้มถั่วดำ กล้วยบวชชี บวชฟักทอง ข้าวเหนียวแดง ข้าวปาด ข้าวหลิ่ม (ข้าวตอกผสมน้ำอ้อยที่เคียวเป็นยางมะตูม)
-ประเภทนึ่ง ได้แก่ ขนมหมก (ขนมเทียน) ข้าวต้มมัด
-ประเภทปิ้ง คั่ว ได้แก่ กล้วยปิ้ง มันปิ้ง ข้าวเม่า ข้าวตอกแตก (ข้าวตอก
-ประเภทอาหารว่าง ได้แก่ ข้าวโป่ง ข้าวหลาม ข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวละส่อง (ลอดช่อง)
3.ผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นอาหารที่ได้จากพืชและผลผลิตจากพืช คนอีสานนิยมรับประทานผักกันมากถือเป็นส่วนประกอบของการกินกับอาหารคาวแทบทุกชนิด ส่วนประกอบที่กินได้ มีดังนี้
-ราก เช่น รากบัว ฯลฯ
-หัว เช่น เผือก มันชนิดต่างๆ กลอย หอม กระเทียม ขิงข่า ฯลฯ
-ใบ เช่น ผักติ้ว ผักเม็ก ผักกะโดน ฯลฯ
-ดอก เช่น ดอกแค กะหล่ำดอก ฯลฯ
-ผล เช่น ลิ้นฟ้า เพกา แตงอ่อน มะเขือ แตงโม หมากหูลิง หมากหวดค่า ฯลฯ
-อื่นๆ เช่น เห็ดต่างๆ เทา (สาหร่ายน้ำจืด) ไข่ผำ (ไข่น้ำ)
4.เครื่องดื่ม เครื่องดื่มของคนอีสานมีหลายชนิด ส่วนมากจะทำจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำอ้อยสด เป็นต้น
วิธีการกินของคนอีสาน

ธรรมเนียมของคนอีสานแต่โบราณ การบริโภคอาหารนั่งราบกับพื้นบนสาด (เสื่อ) กับข้าวใส่ขันโตกหรือพาข้าว (ถาด) ข้าวเหนียวนึ่งสุกและขันน้ำวางข้างๆ วิธีกินอาหารใช้มือเป็นพื้น อาหารที่มีน้ำพวกต้มหรือแกง ในอดีตจะใช้บ่วงที่ได้จากเปลือกหอย การใช้ช้อนหรือซ่อมมีภายหลังเมื่ออารยธรรมของยุโรปเผยแพร่เข้ามา


วิถีชีวิตของคนอีสาน

การสร้างบ้านของชุมชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยโบราณมักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มที่มีแม่สำคัญ ๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักข้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน หนอง" เป็นส่วนใหญ่
ลักษณะหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นมักจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ส่วนที่ตั้งบ้านเรือนตามทางยาวของลำน้ำนั้นมีน้อย ผิดกับทางภาคกลางที่มักตั้งบ้านเรือนตามทางยาว ทั้งนี้เพราะมีแม่น้ำลำคลองมากกว่า
หนุ่มสาวชาวอีสานเมื่อแต่งงานกันแล้ว ตามปกติฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย ต่อเมื่อมีลูกจึงขยับขยายไปอยู่ที่ใหม่เรียกว่า "ออกเฮือน" แล้วหักล้างถางพงหาที่ทำนา ดังนั้น ที่นาของคนชั้นลูกชั้นหลานจึงมักไกลออกจากหมู่บ้านไปทุกที และเมื่อบริเวณเหมาะสมจะทำนาหมดไป เพราะพื้นที่ราบที่มีแหล่งน้ำจำกัด คนอีสานชั้นลูกหลานก็มักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่อีก หรือถ้าที่ราบในการทำนาบริเวณใดกว้างไกลไปมาลำบากก็จะชักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่ใกล้เคียงกับนาของตน ทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นหมู่บ้านขึ้น
ลักษรณะการตั้งถิ่นฐาน
ในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของคนอีสานมักเลือกทำเลที่เอื้อต่อการยังชีพ ซึ่งมีองค์ประกอบทั่วไปดังนี้
1. แหล่งน้ำ นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก อาจเป็นหนองน้ำใหญ่หรือห้วย หรือ ลำน้ำที่แยกสาขามาจากแม่น้ำใหญ่ ที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มสามารถทำนาเลี้ยงสัตว์ ได้ในบางฤดูเท่านั้น
ชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "เลิง วัง ห้วย กุด หนอง และท่า" เช่น เลิงนกทา วังสามหม้อ ห้วยยาง กุดนาคำ หนองบัวแดง ฯลฯ
2.บริเวณที่ดอนเป็นโคกหรือที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สามารถทำไร่และมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีทั้งที่ดอนริมแม่น้ำและที่ดอนตามป่าริมเขา แต่มีน้ำซับไหลมาบรรจบเป็นหนองน้ำชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วนคำว่า "โคก ดอน โพน และโนน" เช่น โคกสมบูรณ์ ดอนสวรรค์ โพนยางคำ ฯลฯ
3. บริเวณป่าดง เป็นทำเลที่ใช้ปลูกพืชไร่และสามารถหาของป่าได้สะดวก มีลำธารไหลผ่าน เมื่ออพยพมาอยู่กันมากเข้าก็กลายเป็นหมู่บ้านและมักเรียกชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วยคำว่า "ดง ป่า และเหล่า" เช่น โคกศาลา ป่าต้นเปือย เหล่าอุดม ฯลฯ
4.บริเวณที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่เหมาะในการทำนาข้าว และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง ตัวหมู่บ้านจะตั้งอยู่บริเวณขอบหรือแนวของที่ราบติดกับชายป่า แต่น้ำท่วมไม่ถึงในหน้าฝน บางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" เป็นต้น
5. บริเวณป่าละเมาะ มักเป็นที่สาธารณะสามารถใช้เลี้ยงสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารได้ ตลอดจนมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่นำมาเป็นอาหารยังชีพ รวมทั้งสมุนไพรใช้รักษาโรค และเป็นสถานที่ยกเว้นไว้เป็นดอนปู่ตาตามคติความเชื่อของวัฒนธรรมกลุ่มไต-ลาว


การประกอบอาชีพ

ปัจจัยความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่มนุษย์ต้องทำงานเพื่อทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว อาชีพหลักของชาวอีสานที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง คือ อาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือ ประมงน้ำจืด ด้านส่วนในด้านพาณิชยกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรม ก็มีอยู่มากเช่นเดียวกันแต่ไม่ถึงกับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ ยกเว้นอาชีพหัตถกรรมที่ในปัจจุบันนี้เจริญขึ้นมาก
อาชีพเกษตรกรรม
1.การทำนา อาชีพนี้ถือว่าเป็นชีวิตจิตใจของชาวอีสาน โดยจะปลูกชาวอีสานจะปลูกข้าวเหนียวไว้สำหรับการบริโภคในครัวเรือน ปลูกข้าวเจ้าเพื่อจำหน่ายโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี
2.การทำไร่ เนื่องจากพื้นที่ของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง และมีเชิงเขาอยู่ทั่วไปจึงเหมาะที่จะปลูกพืชไร่ ได้แก่ ไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย มะเขือเทศและยางพารา เป็นต้น
3.การทำสวนผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่า มะม่วง ขนุน แตงโม มะขาม ส้มเขียวหวาน ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ แก้วมังกร ฯลฯ ซึ่งได้ผลผลิตไม่มากนัก
4.การปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญในภาคอีสาน ได้แก่ โค กระบือ สุกร และไก่ ซึ่งมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะโคและกระบือพันธุ์พื้นเมือง ในปัจจุบันเกษตรกรจะเลี้ยง โค – กระบือพันธุ์ผสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
5.การประมง นอกจากการจับสัตว์น้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ชาวอีสานยังประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน เป็นต้น
6.การอุตสาหกรรม ชาวอีสานจะมีอาชีพหลักคือ อาชีพเกษตรกรผลผลิตทางเกษตร นอกจากจะนำมาจำหน่ายในลักษณะผลิตผลปฐมภูมิแล้ว ส่วนที่เหลือสามารถนำมาผลิต ในอุตสาหกรรมการเกษตรได้อีกด้วย เช่น สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น

7.อุตสากรรมหนัก ได้แก่ โรงงานทอกระสอบในจังหวัดขอนแก่น อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ในจังหวัดนครราชสีมา โรงงานน้ำตาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
8.การท่องเที่ยวและการบริการ ภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ภาคอีสานยังมีประเพณีฮีต 12 ที่เป็นเอกลักษณ์ ทัศนียภาพที่สวยงาม และปัจจุบันยังมีสะพานมิตรภาพ ที่ติดต่อกับประเทศลาวสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนาม ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาในภาคอีสาน จึงธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมพัก ที่พัก ร้านอาหาร รถรับจ้าง สถานบันเทิงต่างๆ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่
9.ศิลปหัตถกรรม ศิลปหัตถกรรมของภาคอีสานเป็นที่ยอมรับของคนไทยทุกภาคในประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดังได้กล่าวมาแล้วยังมีงานศิลปหัตถกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่
-เครื่องปั้นดินเผา มีกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะสำหรับการใช้สอย เช่น หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว โอ่งน้ำ และกระถางปลูกต้นไม้ กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ เป็นต้น
-เครื่องจักสาน เครื่องจักสานในภาคอีสานมีการผลิตในทุกจังหวัด เพราะทุก ครัวเรือนต้องใช้เครื่องจักสานในชีวิตประจำวัน เช่น กระติบข้าว ก่องข้าว กะบุง ตะกร้า เป็นต้น
ชีวิตความเป็นอยู่และอาชีพของท้องถิ่น ได้มีการเรียนรู้โดยการบอกกล่าวสอนและประพฤติปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาซึ่งได้มีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันชาวอีสานได้นำความรู้จากอดีตบางอย่างอาจจะนำมาปรับใช้กับสภาพชีวิตในปัจจุบันด้วย เช่น การนำยาสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาโรค การรู้จักแสวงหาอาหารจากธรรมชาติแบบพึ่งตนเอง การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ฯลฯ

ชไมพร กาฬพันธ์ Copyright © 2009 Designed by Ipietoon Blogger Template for Bie Blogger Template Vector by DaPino